บทที่ 9 การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน

นิยามของเงิน

เงิน คือ สิ่งซึ่งสังคมหนึ่งๆ ยอมรับให้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งสะสมมูลค่า เป็นสิ่งวัดมูลค่า

หน้าที่ของเงิน

  • เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
  • เป็นสิ่งสะสมมูลค่า
  • เป็นสิ่งวัดมูลค่า

ปริมาณเงิน

  • ปริมาณเงินในความหมายแคบ = เงินสดที่ไม่อยู่ในมือสถาบันรับฝากเงินและรัฐบาล + เงินรับฝากกระแสรายวันที่สถาบันรับฝากเงิน
  • ปริมาณเงินในความหมายกว้าง = ปริมาณเงินในความหมายแคบ + เงินรับฝากที่มีสภาพคล่องสูงกึ่งเงินสด
  • ในประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านปริมาณเงิน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ระบบธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (The Federal Reserve System)

ธนาคารกลางของอเมริกา(Fed) เป็นองค์กรของเอกชนที่ประกอบขึ้นจากธนาคารพานิชย์ ซึ่งทำหน้าที่ของธนาคารกลางเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ

องค์ประกอบสำคัญของ Fed ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้

  1. คณะกรรมการผู้ว่าการ (Bord of Goernors)
  2. คณะกรรมการที่ปรึกษา (The Federal Advisory Council)
  3. ธนาคารกลาง 12 แห่ง (The 12 Federal Reserve Bank)
  4. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (The Federal Open Market Committee : FOMC)
  5. ธนาคารพานิชย์ที่เป็นสมาชิก

บทบาทและหน้าที่พื้นฐานของธนาคารกลาง

  1. เป็นนายธนาคารให้แก่ธนาคารพานิชย์
  2. เป็นนายธนาคารให้แก่รัฐบาล
  3. เป็นผู้กำกับควบคุมดูแลปริมาณเงินและการให้สินเชื่อ
  4. เป็นผู้ออกระเบียบรักษาระเบียบในตลาดเงิน

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย

  1. เป็นผู้ออกบัตรธนาคาร (ธนบัตร)
  2. เป็นนายธนาคารให้แก่รัฐ
  3. เป็นนายธนาคารให้แก่ธนาคารพานิชย์
  4. เป็นตัวแทนของรัฐบาลในการติดต่อกับองค์กรการเงินระหว่างประเทศ

อาจารย์ผู้บรรยาย

  • รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
  • รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ