บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ประเด็นสำคัญของทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
จุดประสงค์ของบทที่ 3 ถึงบทที่ 7 คือต้องการอธิบายเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ
- กระบวนการเกี่ยวกับการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
- การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
- ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ว่าการเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใด
วิธีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ในบทนี้จะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรต่างๆต่อระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ วิธีการศึกษาที่ใช้มีดังนี้
- Income - Expenditure Approach (รายได้ - ความต้องการใช้จ่าย)
- Withdrawal - Injection Approach (ส่วนกระตุ้น - ส่วนรั่วไหล)
- Aggregate Demand - Aggregate Supply Approach
- General Equilibrium Approach or IS-LM Approach
ซึ่งแต่ละวิธีจะมีรายละเอียดของการวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบว่า รายได้ดุลยภาพนั้นกำหนดขึ้นมาได้อย่างไร เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับเหตุปัจจัยใด
การกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพด้วยวิธี Income - Expenditure Approach
เราจะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธี Income - Expenditure Approach ซึ่งเราจะเริ่มวิเคราะห์จากคำว่า
Income - Expenditure
- Income หมายถึง National Income หรือรายได้ประชาชาติ
- Expenditure หมายถึง Desired Aggregate Expenditure หรือความต้องการใช้จ่ายมวลรวม
- ระดับที่มีดุลยภาพ คือ รายได้ประชาชาติ(Y) เท่ากับ ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม(AE)
เขียนเป็นสมการรายได้ประชาชาติดุลยภาพได้ดังนี้
Y = AE Y= Total Output (ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ) AE = Desired Aggregate Expenditure (ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม)
ซึ่ง AE มีสมการดังนี้
AE = C + I + G + X - IM (ก) C = Desired Private Consumption Expenditure (ความต้องการด้านค่าใช้จ่ายในครัวเรือน) I = Desired Gross Private Investment Expenditure (ความต้องการการด้านการลงทุนภาคเอกชนเบื้องต้น (ไม่รวมค่าเสื่อม)) G = Desired General Government Expenditure on Consumption and Investment (ความต้องการด้านรายจ่ายรัฐบาล) X = Desired Exports of Goods and Services (ความต้องการด้านมูลค่าการส่งออก) IM = Desired Import of Goods and Services (ความต้องการด้านมูลค่าการนำเข้า)
แม้ว่าสมการนี้จะคล้ายกับวิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติจากรายจ่าย ในบทที่ 2 แต่ ก็ มีความหมายต่างกัน
การคำนวณรายได้ประชาชาติจากรายจ่าย GDP = Ca + Ia + Ga + Xa - Ma (ข)
ตัว a ที่ห้อยอยู่ในสมการ (ข) หมายถึง Actual Value คือเป็นค่าจริงที่เกิดขึ้นมาแล้ว
ส่วนในสมการ (ก) เป็น Planned Value หรือ Desired Value คือเป็นค่าที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่เป็นค่าที่เราต้องการ เพื่อให้ได้ตัวเลขรายได้ประชาชาติ ที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
ส่วนในสมการ (ก) เป็น Planned Value หรือ Desired Value คือเป็นค่าที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่เป็นค่าที่เราต้องการ เพื่อให้ได้ตัวเลขรายได้ประชาชาติ ที่อยู่ในภาวะดุลยภาพ
ในการศึกษาทำความเข้าใจผลกระทบของตัวแปรต่างๆ ต่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพ จะต้องเริ่มจากระบบที่ไม่ซับซ้อน โดยการตัดตัวแปรบางส่วนออกไปก่อน เพื่อให้ทราบถึงปลกระทบของตัวแปรที่ยังเหลืออยู่
ในที่นี้ จะสมมติว่าเป็นเศรษฐกิจระบบปิด ไม่มีการถ่ายเทระหว่างประเทศ และไม่มีรัฐบาล สมการรายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเหลือเพียง
AE = C + I
การวิเคราะห์ผลกระทบของรายได้ประชาชาติดุลยภาพกับความต้องการใช้จ่ายเพื่อบริโภค
เมื่อเราได้ สมการ AE =C+I จาการสมมติว่าเป็นเศรษฐกิจแบบปิดและไม่มีรัฐบาล ต่อไปจะใช้วิธีการศึกษาวิธีที่ 2 คือ Injection - Withdrawal Approace ในการวิเคราะห์ ผลกระทบของรายได้ประชาชาติดุลยภาพกับความต้องการใช้จ่ายเพื่อบริโภค
โดยมอง AE =C + I เป็นด้าน Injection หรือส่วนกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจเติบโต
และอีกด้านหนึ่งคือ withdrawal ก็จะเป็น C+S (ความต้องการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และเงินออม)
สำหรับตัว C เราได้กำหนด Consumption Function ขึ้นมาดังนี้
C = f(Yd,t,i,A,E,L,...) C = Desired Consumption Expenditure (ความต้องการของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค) Yd = Disposable Income (รายได้ดุลยภาพ) t = Tax Rate (อัตราภาษี) i = Interest Rate (อัตราดอกเบี้ย) A = Consumer's Wealth (ฐานะความมั่งคั่ง) E = Expectation (ความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ) L = Consumer's Debt (หนี้สินภาคครัวเรือน) S = Desired Saving (ความต้องการเงินออม)
สมการนี้มีความหมายคือ ระดับการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยต่างๆเช่น รายได้ อัตราภาษี อัตราดอกเบี้ย ฐานะความมั่งคั่ง ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ในส่วนของเงินออม ก็เขียนเป็น Saving Function ได้ดังนี้
S = f(Yd,t,i,A,E,L,...)
ในขั้นต่อมา เราต้องการศึกษาผลกระทบของ Yd ต่อ Desired Consumption Expenditure เราจึงสมมติให้ตัวแปรอื่นๆ ทางขวามือเป็นค่าคงที่ทั้งหมด ยกเว้น Yd ตัวเดียวที่เปลี่ยนแปลง ก็จะได้สมการต่อไปนี้
C = f(Yd)
และ
dC/dYd > 0
- dC/dYd เป็นสัญลักษ์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง differentiate อ่านว่า ดี-ซี-บาย-ดี-วาย หมายถึง ความเปลี่ยนแปลงของความต้องการผู้บริโภคต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับรายได้ดุลยภาพ
- dC/dYd > 0 หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของความต้องการการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค จะมีทิศทางแปรผันตรงกับการเปลี่ยนแปลงของรายได้ดุลยภาพ ถ้า C เพิ่มขึ้น Yd ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย
ถ้า C ลดลง Yd ก็จะลดลงด้วย
- dC/dYd คือค่า MPC ซึ่งย่อมาจาก Marginal propensity to consume เป็นตัวที่บอกให้รู้ว่า ถ้า Disposable Income เพิ่มขึ้น 1 หน่วยแล้ว จะมีผลทำให้ความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
- MPC คือความชันของกราฟ เมื่อนำไปพล็อตเป็นกราฟ
- ถ้า MPC มีค่าเป็น 0.8 หมายความว่า เมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น 100 บาท ค่าใช้จ่ายในการบริโภคจะเพิ่มขึ้น 80 บาท
การวิเคราะห์ผลกระทบของรายได้ประชาชาติดุลยภาพกับความต้องการใช้จ่ายเพื่อการออม
ในทำนองเดียวกัน เราสามารถเขียนสมการของ S ได้ดังนี้
S = f(Yd)
และ
dS/dYd > 0
โดยค่านี้คือ MPS หรือ Marginal propensity to save หมายถึง ถ้า Disposable Income เพิ่มขึ้น 1 หน่วยแล้ว จะมีผลทำให้ความต้องการการออมเพิ่มขึ้นเท่าไหร่
คุณสมบัติของ MPC และ MPS
ในกรณที่เป็นระบบปิดและไม่มีรัฐบาล เราพบว่า
MPC + MPS = 1
พิสูจน์สมการดังนี้
Y=Yd Yd = C + S ΔYd/ΔYd = ΔC/ΔYd + ΔS/ΔYd 1 = MPC + MPS
ลักษณะของเส้นบริโภคในกราฟ
ลักษณะของเส้นบริโภค (Consumption function) เส้นการบริโภคมีลักษณะเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา มีค่า Slope เป็นบวก เนื่องจาก MPC >0
เส้น 45% เป็นเส้นสมมติของกรณีที่ความต้องการใช้จ่ายเท่ากับ Disposable Income หรือ C = Yd
ตัวอย่าง
ลักษณะของเส้นการออม
ลักษณะของเส้นการออม (Saving function) เส้นการออมจะเป็นไปตามสมการ Y=C+S ดังนั้น S=Y-C โดยที่ Y คือเส้น 45 องศา เพราะ Y=AE เนื่องจากเป็นระดับรายได้ดุลยภาพ
จาก S=Yd-C และ C=C0 + MPC(Yd) และ MPC = 1-MPS แทนค้าจะได้ S=Yd - C0 - (1-MPS)Yd S=C0 - MPS(Yd)
หมายเหตุ
- อยู่ในฟอร์มของ สมการเส้นตรง Y=a+bx
- มีความชันเท่ากับ MPS
- ตัดแกน Y ที่จุด -C0
การวิเคราะห์ผลกระทบของรายได้ประชาชาติดุลยภาพกับความต้องการใช้จ่ายเพื่อการลงทุน
การลงทุนในวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค หมายถึงการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าทุน(Capital) และการเปลี่ยนแปลงสินค้าคงคลัง(Inventories) ในช่วงเวลาหนึ่ง หรือกล่าวโดยสรุป กระแสค่าใช้จ่ายในการลงทุนนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 อย่างดังนี้
- รายจ่ายที่หน่วยธุรกิจต้องการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่
- รายจ่ายที่หน่วยธุรกิจต้องการใช้จ่ายเพื่อก่อสร้างโรงงานใหม่
- การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลัง
ความต้องการในการลงทุนนั้นเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
I = f(i,Y,¶,E,Cf,Te...) I = Desired Investment Expenditure i = Interest rate Y = National Income ¶ = Expected profit E = Expectation Cf = Confidence Te = Change in Technology
ความสัมพันธ์ในสมการดังกล่าว สามารถอธิบายได้ดังนี้
- อัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนของการลงทุน ดังนั้นหากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นย่อมหมายถึงต้นทุนในการลงทุนสูงขึ้น ททำให้การลงทุนลดลง
- รายได้ประชาชาติ การที่รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นหรือลดลงจะสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และมีผลต่อการขยายการลงทุน
- ระดับกำไรที่คาดว่าจะได้รับ หากมีโอกาสในการทำกำไรมาก ก็จะเป็นแรงดึงดูดให้เกิดการลงทุน
- การคาดคะแน ในโลแกแห่งความเป็นจริงกรคาดคะเนเกี่ยวกับสถานการณ์ในอนาคตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการลงทุน
- ความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุน
- การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโยลีทำให้หหน่วยธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิต
ตัวอย่างการคำนวนรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
The Aggregate Expenditure function in a Closed Economy with No Government
National Income (Y) | Desired Consumption Expenditure (C= 100+0.8Yd) | Desired Investment Expenditure (I = 250) | Desired Aggregate Expenditure (AE = C + I) |
---|---|---|---|
100 | 180 | 250 | 430 |
400 | 420 | 250 | 670 |
500 | 500 | 250 | 750 |
1.000 | 900 | 250 | 1,150 |
1,500 | 1,300 | 250 | 1,550 |
1,750 | 1,500 | 250 | 1,750 |
2,000 | 1,700 | 250 | 1,950 |
3,000 | 2,500 | 250 | 2,750 |
4,000 | 3,300 | 250 | 2,550 |
ตารางข้างต้นเป็นข้อมูลสมมติในกรณีที่เป็นระบบปิดและไม่มีรัฐบาล และกำหนดค่าต่างๆมาให้ดังนี้
- AE = C + I เนื่องจากเป็นระบบปิด ไม่มีรัฐบาล
- C = 100 + 0.8Yd
- I = 250 คงที่ (ให้ I เป็น Autonomous Expenditure คือไม่ถูกชักนำโดยรายได้ประชาชาติ)
ดังนั้น จะได้ว่า
AE = C + I AE = 350 + 0.8Y
- จุดดุลยภาพ จะต้องมี Y = AE คือ รายได้ประชาชาติ เท่ากับ ความต้องการใช้จ่าย สามารถเขียนเป็นเส้น 45° ในกราฟ
- เส้นสีแดง คือ กราฟของสมการ รายได้ประชาชาติ เท่ากับ ความต้องการใช้จ่าย ซึ่งถือว่าเป็น ดุลยภาพ
- เส้นสีฟ้า คือ กราฟของความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (AE = C + I)
- กราฟมีลักษณะทอดขึ้น หมายความว่า ความสัมพันธ์ของรายได้ประชาชาติและค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- จุดตัดของกราฟ คือจุดที่ Y=AE และ AE=350 + 0.8Y ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,750
การคำนวณรายได้ประชาชาติดุลยภาพจากสมการคณิตศาสตร์
เป็นวิธีการคำนวณหารายได้ประชาชาติดุลยภาพ โดยวิธีแก้สมการคณิตศาสตร์
จากโจทย์ เรามี สมการดังนี้
C = 100 + 0.8Y I = 250 AE = C + I Y = AE
ดังนั้น
Y = 100 + 0.8Y + 250 Y = 350 + 0.8Y 0.2Y = 350 Y = 1,750
การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ตามที่กล่าวมาข้างต้น เราเข้าใจแล้วว่ารายได้ประชาชาติดุลยภาพถูกกำหนดขึ้นมาได้อย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาหาคำตอบในข้อ 2 กันต่อไปว่า รายได้ประชาชาติดุลยภาพ เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร
ตามที่เราเข้าใจกันแล้วว่า รายได้ประชาชาติดุลยภาพ จะอยู่ที่จุดตัดของเส้น AE กับเส้น 45° ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ก็คือการเปลี่ยนแปลงของเส้น AE นั่นเอง
จากสมการ
AE = C + I
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของ C หรือ I จะมีผลทำให้เสน AE เปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบต่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเส้น AE มี 2 ลักษณะคือ
- เส้น AE เลื่อนขึ้น
- เส้น AE เลื่อนลง
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของเส้น AE มี 2 ลักษณะคือ
- เปลี่ยนแปลงขนานกับเส้น AE เดิม
- เปลี่ยนแปลงไม่ขนานกับเส้น AE เดิม
จากกราฟ
- เส้นสีแดง คือ เส้น 45°
- เส้นสีฟ้า คือ เส้น AE เดิม จากตัวอย่างที่แล้ว
- เส้นสีส้ม คือ เส้น AE ที่เปลี่ยนแปลงไป
- จะพบว่า จุดตัดของเส้น AE กับ เส้น 45° เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหมายถึง รายได้ประชาชาติดุลยภาพเปลี่ยนไปนั่นเอง
ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยคือ
- ขนาดการเปลี่ยนแปลงของเส้น AE ยิ่งมีการเลื่อนขึ้น-ลง มาก รายได้ประชาชาติดุลยภาพก็ยิ่งเปลี่ยนแปลงไปมาก
- ความชันของเส้น AE ยิ่งกราฟมีความชันมาก รายได้ระชาชาติดุลยภาพยิ่งเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อเที่ยบกับการเปลี่ยนแปลงของเส้น AE ในระดับที่เท่ากัน
กรณีที่รายได้ประชาชาติไม่อยู่ในดุลยภาพ
- รายได้ประชาชาติ ณ ระดับที่ AE > Total Output จะผลักดันให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น เพราะหน่วยผลิตจะเร่งการผลิตก่อนที่สินค้าคงคลังจะหมดไป
- รายได้ประชาชาติ ณ ระดับที่ AE < Total Output จะผลักดันให้รายได้ประชาชาติลดลง เพราะมีสินค้าที่ผลิตออกมาเกินกว่าระดับรายได้ประชาชาติ ทำให้สินค้าขายไม่ได้
การกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ด้วยวิธี Injection-Withdrawal Approach
การกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ด้วยวิธี Injection-Withdrawal Approach จะถูกกำหนด ณ ระดับที่ ความต้องการใช้จ่ายเพื่อการลงดทุน (I) = ความต้อการที่จะออม(S) โดยสมมติว่า เป็นเศรษฐกิจระบบปิดและไม่มีรัฐบาล ซึ่งจะได้ว่า
จาก AE = Total Output (Y) C + I = C + S :. I = S
ส่วนกระตุ้น = ส่วนรั่วไหล
- ส่วนกระตุ้น คือส่วนที่เข้ามาในกระแสหมุนเวียนระหว่างครัวเรือนกับหน่วยผลิต ซึ่งในสภาวะที่เป็นเศรษฐกิจระบบปิดไม่มีรัฐบาล จะมีส่วนกระตุ้นเพียงตัวเดียวคือ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (I) ซึ่งเ)็นค่าใช้จ่ายของหน่วยผลตที่ใช้ซื้อสินค้าทุน เช่น ซื้อเครื่องจักร ก่อสร้างโรงงาน
- ส่วนรั่วไหล คือส่วนที่ออกจากกระแสหมุนเวียนของค่าใช้จ่ายระหว่างคัวเรือนกับหน่วยผลิต ส่วนรั่วไหลในกรณีนี้จะเป็นการออม (S) เพียงตัวเดียว การออกมเป็นส่วนที่ครัวเรือนไม่ได้นำกลับมาใช้ซื้อสินค้าและบริการจากหน่วยผลิต
รายได้ประชาชาติดุลยภาพของวิธี Injection-Withdrawal Approach (Equilibrium Income)
รายได้ประชาชาติดุลยภาพของวิธี Injection-Withdrawal Approach คือระดับที่ I=S ดังตารางด้านล่าง
The Saving - Inesment Balance
National Income (Y) | Desired Aggregate Expenditure (AE = C + I) | Desired Saving (S=Yd-C) | Desired Invesment (I) |
---|---|---|---|
100 | 430 | -80 | 250 |
400 | 670 | -20 | 250 |
500 | 750 | 0 | 250 |
1.000 | 1,150 | 100 | 250 |
1,500 | 1,550 | 200 | 250 |
1,750 | 1,750 | 250 | 250 |
2,000 | 1,950 | 300 | 250 |
3,000 | 2,750 | 500 | 250 |
4,000 | 2,550 | 700 | 250 |
กราฟของการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพด้วยวิธี Injection-Withdrawal Approach
- ภาพซ้าย เป็นกราฟการหารายได้ประชาชาติดุลยภาพ ตามแนวคิด Income-Expenditure Approach
- ภาพขวา เป็นกราฟการหารายได้ประชาชาติดุลยภาพ ตามแนวคิด Injection-Withdrawal Approach
- I เป็นค่าคงที่ เส้น I จึงขนานกับแกนนอน
- S ผันแปรตามระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ และตัดเส้น I ที่ระดับรายได้ดุลยภาพ Y1 ซึ่งเท่ากับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ที่ได้จาก Income-Expenditure Approach
การคำนวณ รายได้ประชาชาติดุลยภาพด้วยวิธี Injection-Withdrawal Approach
สมมติกำหนดให้ C=100+0.8Y S=-100+0.2Y I=250 เนื่องจาก AE =C+I ดังนั้น AE = 100+0.8Y+250 AE = 350+0.8Y
การหาคำตอบด้วยวิธีที่ 1 (Income-Expenditure approach)
รายได้ประชาชาติดุลยภาพ = ค่าใช้จ่ายมวลรวม Y = AE Y = 350+0.8Y 0.2Y = 350 :. Y = 1,750 พันล้าน US เป็นระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
การหาคำตอบด้วยวิธีที่ 2 (Injection-Withdrawal approach)
การลงทุน = การออม I = S 250 = -100+0.2Y 0.2Y = 350 Y = 1,750 พันล้าน US เป็นระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ
การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติ จากวิธี Injection-Withdrawal Approach
ระดับรายได้ดุลยภาพสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
- S เลื่อนขึ้นหรือลง โดยขนานกับเส้นเดิม
- I เลื่อนขึ้นหรือลงโดยขนานกับเส้นเดิม
- ความชันของ S เปลี่ยนแปลง
- เมื่อ S เพิ่มขึ้น ระดับรายได้ประชาชาติจะลดลง
- เมื่อ I เพิ่มขึ้น ระดับรายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้น
อาจารย์ผู้บรรยาย
- รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
- รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น