บทที่ 2 ระเบียบ วิธีการคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติ
ประเด็นสำคัญของรายได้ประชาชาติ
การคำนวณตัวเลขรายได้ประชาชาติในบทนี้ มีเรื่องสำคัญ 3 เรื่องคือ
- ตัวเลขประชาชาติที่คำนวณได้นั้นเป็นตัวบอกถึงสถานะที่เป็นอยู่ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- ตัวเลขสถิติที่เปลี่ยนแปลงจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงไปของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
- ตัวเลขที่คำนวณออกมานั้นช่วยชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างสำคัญต่างๆที่ประกอบกันขึ้นเป็นเศรษฐกิจของชาติ
วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ
การคำนวณรายได้ประชาชาติ จะยึดตามมาตรฐานของ UNSNA ที่กำหนดให้ทุกประเทศต้องคำนวณรายได้ประชาชาติด้วยวิธีการทั้ง 3 วิธีคือ
- Production Approach - เป็นการคำนวณจากด้านผลผลิตของระบบเศรษฐกิจ
- Expenditure Approach - เป็นการคำนวณจากด้านรายจ่ายของระบบเศรษฐกิจ
- Income Approach - เป็นการคำนวณจากด้านรายได้ของเจ้าของปัจจัยการผลิต
Production Approach
โดยหลักการของวิธีนี้ คือ คำนวณจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ระบบเศรษฐกิจผลิตขึ้นมาได้ แต่ในทางปฏิบัติ เราพบว่ามีสินค้าหลายรายการที่เป็นได้ทั้งสินค้าบริการขั้นสุดท้าย และสินค้าบริการที่เป็นวัตถุดิบของสินค้าและบริการอย่างอื่น ทำให้เกิดความยุ่งยากในการคำนวณและเสี่ยงต่อการนับซ้ำซ้อน ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงหันไปใช้วิธีนับจากมูลค่าเพิ่มจากการผลิตในแต่ละขั้นตอนแทน
ตัวอย่าง
ข้าวเปลือกมีการผลิต 3 ขั้นตอนดังนี้
ข้าวเปลือกมีการผลิต 3 ขั้นตอนดังนี้
รายการ | มูลค่าเพิ่ม |
---|---|
ชาวนาผลิตข้าวเปลือกขายให้โรงสีเป็นเงิน 100,000 ล้านบาท | 100,000 บาท |
โรงสีซื้อข้าวจากชาวนา 100,000 ล้านบาท สีเป็นข้าวสาร ขายได้ 130,000 ล้านบาท | 30,000 ล้านบาท |
บริษัทค้าข้าวซื้อข้าวสารมาบรรจุหีบห่อ ขายปลีกเป็นเงิน 180,000 บาท | 50,000 ล้านบาท |
จากตัวอย่างข้างต้น หากนำราคาแต่ละขั้นมารวมกัน จะได้ 100,000 + 130,000 + 180,000 = 310,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผิด เพราะมีการคิดซ้ำซ้อน
ที่ถูกคือคิดมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอนคือ 100,000 + 30,000 + 50,000 = 180,000 ล้านบาท
ที่ถูกคือคิดมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอนคือ 100,000 + 30,000 + 50,000 = 180,000 ล้านบาท
สำหรับในประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบการคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติจากทางด้าน Production Approach คือ สำนักบัญชีประชาชาติ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คำนวณตามมาตรฐาน TSIC ซึ่งแบ่งสาขาเศรษฐกิจออกเป็น 16 สาขา
TSIC เป็นมาตรฐานที่ประยุกต์มาจาก SIC ซึ่งเป็นมาตรฐานของหน่วยงานระดับโลกที่แบ่งสาขาเศรษฐกิจออกเป็น 17 สาขา สำหรับในประเทศไทยมี เพียง 16 สาขา เนื่องจาก ประเทศไทยไม่มีมูลค่าสินค้าจากองค์การระหว่างประเทศ
ลิงก์อ่านเพิ่มเติม
การจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรม(ประเทศไทย) TSIC
Gross National Product and National Income at Current Market Prices by Economic Activities
Gross National Product and National Income at Current Market Prices by Economic Activities
Expenditure Approach
เป็นการคำนวณจากด้านรายจ่ายของระบบเศรษฐกิจ สามารถคำนวณได้ด้วยสมการดังนี้
GDP = Ca + Ia + Ga + Xa - Ma Ca = Private Consumption Expenditure (ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน) Ia = Gross Private Investment Expenditure (การลงทุนภาคเอกชนเบื้องต้น (ไม่รวมค่าเสื่อม)) Ga = General Government Expenditure on Consumption and Investment (รายจ่ายรัฐบาล) Xa = Exports of Goods and Services (มูลค่าการส่งออก) Ma = Import of Goods and Services (มูลค่าการนำเข้า)
ค่าของ Ca,Ia,Ga,Xa,Ma เป็น Actual Value ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว ต่างกับ Desired Value ในบทที่ 3 ที่เป็นค่าที่ยังไม่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ยังมีสมการอื่นๆที่จำเป็นอีก คือ 1. เงินลงทุนภาคเอกชน ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง เครื่องจักร และสินค้าคงคลัง
Ia = Private Construction + Private Equipment + Change in Inventories
ค่าก่อสร้าง(Private Construction) และ เครื่องจักร(Private Equipment) ดูได้ในตาราง Gross Fixed Capital at Current Market Prices Classified by Private and Public Institutions (หน้า 26)
สินค้าคงคลัง(Change in Inventories) ดูได้จากตาราง Expenditure on Gross Domestic Product at current Market Prices(หน้า 22)
สินค้าคงคลัง(Change in Inventories) ดูได้จากตาราง Expenditure on Gross Domestic Product at current Market Prices(หน้า 22)
2. เงินลงทุนภาครัฐ ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง และเครื่องจักร ไม่มีสินค้าคงคลัง เพราะรัฐไม่ทำธุรกิจซื้อมาขายไป
Ga = Private Construction + Private Equipment
Income Approach
การคำนวณทางด้านรายได้นั้น จะคำนวณจากผลตอบแทนของราคาปัจจัยการผลิต หรือรายได้ของเจ้าของปัจจัยการผลิต ซึ่งมี 4 1ประเภทคือ
- ค่าจ้าง (Wages) เป็นค่าตอบแทนแรงงาน ซึ่งรวมดึงค่าจ้าง เงินเดือน สวัสดิการ การประกันสังคม การยกเว้นภาษี และค่าตอบแทนอื่นๆ
- ค่าเช่า (Rent) หมายถึงค่าเช่าที่เอกชนได้รับจากการให้เช่าสินทรัพย์ต่างๆ เช่น ที่ดิน หรือปัจจัยอื่นๆ รวมทั้งค่าเช่าบ้านที่เจ้าของเข้าอยู่อาศัยเองด้วย
- ดอกเบี้ย(Interest) ดอกเบี้ยจะรวมถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝากธนาคาร ผลตอบแทนที่ได้รับจากการกู้ยืม และรายได้จากแหล่งลงทุนอื่นๆ
- กำไร (Profit)
- ในการคำนวณ GDP จะแบ่งกำไรออกเป็น 2 ประเภท
- กำไรที่จ่ายในรูปเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น เรียกว่า Distributed Profit
- กำไรที่กิจการเก็บไว้ลงทุนต่อ เรียกว่า Undistributed Profit
- ในบัญชีรายได้จะแบ่งกำไรออกเป็น 2 ประเภท
- กำไรของนิติบุคคล (Corporate profit)
- รายได้ของกิจการที่ไม่มช่ในรูปนิติบุคคล (Incomes of Unincoporated businesses) ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ร้านค้าย่อย ชาวนา ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระต่างๆ
รายจ่ายอื่นๆที่ไม่ได้จ่ายให้เจ้าของปัจจัยการผลิต
- ภาษีทางอ้อมของธุรกิจ (Indirect Business Taxes) - เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นโดยไม่ได้จ่ายให้กับองค์กร
- เงินอุดหนุน (Subsidies) - เงินอุดหนุนเป็นเงินที่รัฐจ่ายให้กับผู้ประกอบการ ทำให้รายได้สูงกว่าราคาตลาดของผลผลิต
- ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) - เป็นมูลค่าทรัำย์สินที่สึกหรอจากกระบวนการผลิต ซึ่งรวมอยู่ในกำไรรวม แต่เมื่อมีการชดเชยค่าเสื่อมแล้วค่าเสื่อมจึงไม่ได้รวมอยู่ในกำไรสุทธิ
NET Domestic Product = Wages + Rent + Interest + Profit + Indirect Business taxes - SubsidiesGDP = NDP + Depreciation
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น