บทที่ 4 บทบาทของรัฐ การนำเข้าและส่งออกในระบบเศรษฐกิจ

ในบทนี้ยังคงเป็นเรื่องของการวิเคราะห์ระดับรายได้ดุลยภาพด้วยวิธีการ Income-Expenditure Approach และ Injection Withdrawal Approach 
แต่มีเรื่องของรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง และเป็นเศรษฐกิจในระบบเปิด ซึ่งตัวแปรที่เพิ่มเข้ามานี้ ถูกตัดออกไปในตอนแรก เพื่อให้วิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น
 แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีประเทศไหนไม่มีรัฐบาลและเป็นเศรษฐกิจระบบปิด

ประเด็นสำคัญที่นำมาวิคราะห์ในบทนี้

  • รัฐบาล
  • รายจ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure G)
  • รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าบริการและการลงทุน เช่นเงินเดือนข้าราชการ รายจ่ายเพื่อซื้อสิ่งของต่างๆ
  • รายจ่ายประเภทเงินโอน ( Transfer Payment) เช่นประกันสังคม รายจ่ายส่วนนี้ไปเพิ่มรายรับของครัวเรือน ทำให้ C เพิ่มขึ้น
  • รายได้ของรัฐจากภาษี (Tax Revenues) การเก็บภาษีจะทำให้รายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น และทำให้ AE ลดลง เพราะภาษีที่จ่ายไปจะทำให้ Disposible Income(Yd) ของภาคเอกชนลดลง
  • รายได้จากภาษีสุทธิ (Net Revenue : T) เท่ากับรายได้จากภาษีหักลบด้วยเงินโอน T = Tax Revenue - Transfer Payment
Yd = Y - T
  • งบประมาณขอรัฐบาล (Government Budget)
  • งบประมาณสมดุล งบประมาณที่รายได้ของรัฐ=รายจ่าย
  • งบประมาณขาดดุล งบประมาณที่รายได้ของรัฐ < รายจ่าย
  • งบประมาณเกินดุล งบประมาณที่รายได้ของรัฐ > รายจ่าย
  • การออมของรัฐบาล (Public Saving)
  • ในกรณีที่รัฐบาลทำงบประมาณแบบเกินดุล การออมของรัฐจะมีค่าเป็นบวก
  • ในกรณีที่รัฐบาลทำงบประมาณแบบเกินดุล การออมของรัฐจะมีค่าเป็นลบ
  • ภาษี (Tax and Expenditure Function) สมมติเก็บภาษี 10% Tax and Expenditure Function จะเขียนได้ดังนี้
Net Taxes(T) = 0.1Y
  • การส่งออกสุทธิ (Net Export)
  • มูลค่าส่งออก (X) มูลค่าส่งออกจะถูกกำหนดเป็นค่าคงที่เพราะมูลค่าการส่งออกขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่จะใช้จ่ายของธุรกิจและครัวเรือนในประเทศอื่นๆ
  • มูลค่านำเข้า (IM) มูลค่าการนำเข้าจะผันแปรตามรายได้ประชาชาติ
  • การส่งออกสุทธิ คือ ผลต่างของมูลค่าการส่งออกและมูลค่าการนำเข้า เขียนแทนด้วยสมการ
(การส่งออกสุทธิ)NX = X -IM

การกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ กรณีระบบเศรษฐกิจเป็นระบบเปิดและมีรัฐบาล

(Desired Aggregate Expenditure : An Open Economy with Government)
ในระบบเศรษฐกิจเปิดและมีรัฐบาล ค่าของ Desired Aggregate Expenditure Function จะเป็นดังนี้
AE = C + I + G + X - IM หรือ
AE = C + I + G + NX
หมายเหตุ ค่าของตัวแปรต่างๆในสมการนี้ เป็น Disired Value ไม่ใช่ Actual Value

The Aggregate Expenditure Function (billion of dollars)

National Income
(Y)
Desire consumption Expenditure
(C=100+0.72Y)
Desired Invesment Expenditure
(I=250)
Desired Government Expenditure
(G=170)
Desired Net Export Expenditure
(X-IM = 240-0.1Y)
Desired Aggregate Expenditure
(AE=C+I+G+X-IM)
100172250170230822
4003882501702001008
5004602501701901070
10008202501701401380
15001180250170901690
17501360250170651845
20001540250170402000
30002260250170-602620
40002980250170-1603240
50003700250170-2603860

ข้อกำหนดของตาราง The Aggregate Expenditure Function (billion of dollars)

(1) เนื่องจากเป็นระบบเปิดมีรัฐบาล ดังนั้น
Y ≠ Yd
Y = Y - T 
หากกำหนดให้ T มีค่าเท่ากับ 0.1Y
:. Yd = Y - 0.1Y
Y = 0.9Y
(2) Consumption Function คือ
C = 100+0.8Yd
C = 100+0.8(Y - 0.1Y)
C = 100+0.72Y
(3) Import Function คือ
IM = 0.1Y
(4) ตัวแปรอื่นๆ ถูกกำหนดเป็น Autonomous Expenditure โดย
I = 250
X = 240
G = 170

การพิจารณาระดับรายได้ดุลยภาพ โดยวิธี Income-Expenditure Apporach

จากเงื่อนไข Y = AE
:. Y = C + I +G + X - IM
Y = 100 + 0.72Y + 250 + 170 + 240 - 0.1Y
Y = 760 + 0.62Y
Y-0.62Y = 760
0.38Y = 760
Y = 2000 พันล้าน US$

การพิจารณาระดับรายได้ดุลยภาพ โดยวิธี Injection Withdrawal Apporach

Injection = Withdrawal
I + G + X = S + T + IM
250 + 170 + 240 = -100 + 0.18Y + 0.1Y + 0.1Y
0.38Y = 760
Y = 2000 พันล้าน US$

การพิจารณารายได้ดุลยภาพกรณีเศรษฐกิจระบบเปิดและมีรัฐบาล อธิบายโดนรูปกราฟ

(Determining Equilibrium National Income : An open Economy with Government)
122-sa14.gif จากกราฟ 
  • รายได้ดุลยภาพจะอยู่ที่ระดับที่ AE ตัดกับเส้น 45 องศา
  • ถ้ารายได้ประชาชาติต่ำกว่า 2000 พันล้าน จะทำให้ AE(ความต้องการใช้จ่าย) มีค่ามากกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ในปัจจุบัน เมื่อหน่วยผลิตเห็นว่าสามารถขายสินค้าได้มากกว่าที่ผลิตได้ หน่วยผลิตจะเพิ่มผลผลิต ทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
  • ถ้ารายได้ประชาชาติสูงกว่า 2000 พันล้าน จะทำให้ AE(ความต้องการใช้จ่าย) มีค่าน้อยกว่าผลผลิตที่ผลิตได้ หากหน่วยผลิตยังคงผลิดเท่าเดิมต่อไป จะทำให้สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ผลกำไรลดลง เมื่อหน่วยผลิตไม่ต้องการให้สินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ก็จะลดการผลิตทำให้รายได้ประชาชาติลดลงมาอยู่ที่ 2000 พันล้าน

ความเกี่ยวข้องของนโยบายการคลัง(Fiscal Policy)กับรายได้ประชาชาติ

  • นโยบายการคลัง เป็นนโยบายสาธารณะและเป็นเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
  • การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลและการจัดเก็บภาษี จะมีผลต่อความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (AE) เช่น การลดภาษี หรือการเพิ่มค่าใช้จ่ายของรัฐบาล จะทำให้เส้น AE เลื่อนขึ้น ทำให้รายได้ประชาชาติดุลยภาพเพิ่มขึ้น
  • รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจอยู่ในระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

การเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายของรัฐบาล

การเปลี่ยนแปลงรายจ่ายของรัฐบาล (ΔG) จะมีผลทำให้รายได้ประชาชาติดุลยภาพเปลี่ยนแปลง(ΔY) โดยรายได้ดุลยภาพที่เปลี่ยนแปลงจะมีค่าเท่ากับ ΔG คูณกับตัวคูณ (Multiplier)

การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี

ถ้าอัตราภาษีเปลี่ยนแปลง จะทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่าง Yd กับ Y เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง C กับ Y เปลี่ยนแปลงไปด้วย
สมมติ สถานการณ์เริ่มต้น
Yd = 0.8Y
และ C= 100+0.64Y
เมื่อรัฐลดภาษีจาก 20% เป็น 10%
Yd = 0.9Y
และ C= 100+0.72Y   (0.72 มาจาก 0.64*0.9/0.8)
และทำให้ค่า Marginal propensity to spend(Z) เปลี่ยนแปลง
ในกรณีที่เพิ่มอัตราภาษี จะทำให้ Disposable Income (Yd) ลดลง ทำให้ C ลดลง และ เส้น AE เลื่อนลง ทำให้รายได้ประชาชาติดุลยภาพลดลง และในทางตรงกันข้าม การลดอัตราภาษี จะทำให้ Disposable Income (Yd) เพิ่มขึ้น ทำให้ C เพิ่มขึ้น และ เส้น AE เลื่อนขึ้น ทำให้รายได้ประชาชาติดุลยภาพเพิ่มขึ้น

อาจารย์ผู้บรรยาย

  • รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
  • รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ