บทที่ 8 วัฏจักรธุรกิจ

ความหมายของวัฏจักรธุรกิจ

วัฏจักรธุรกิจ (Budiness Cycle) หมายถึง สภาวะความผันผวนขึ้นๆลงๆของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเคลื่อนไหวขึ้นๆลงๆ ของ GDP ในวัฏจักรหนึ่งๆ จะมี 4 ช่วงคือ
  1. ภาวะตกต่ำ (Trough) มีการว่างงานสูง ระดับความต้องการสินค้าต่ำเมื่อเทียบกับกำลังการผลิต
  2. ภาวะฟื้นตัวหรือขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Recovery หรือ Expansion)
  3. ภาวะรุ่งเรือง (Peak) เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักร ณ จุดสูงสุดนี้ประสิทธิภาพการผลิตถูกดึงมาใช้อย่างเต็มที่
  4. ภาวะถดถอยหรือหดตัว (Recession หรือ Contraction) เป็นช่วงที่มีการหดตัวของ GDP หากเกิดภาวะนี้เป็นเวลานานเรียกว่า เศรษฐกิจตกต่ำ (Depression)
เมื่อเราแบ่งวัฏจักรออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
ส่วนแรก เป็นส่วนที่ Cycle กำลังขึ้น เรียกว่า Boom
ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่ Cycle กำลังลง เรียกว่า Slump
Business Cycle Pic.jpg

สาเหตุที่ทำให้เกิดวัฏจักรธุรกิจ

  • พิจารณาจากอุปสงค์รวม
  • เกิดจากปัจจัยด้านอุปสงค์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิด AD Shock
  • AD Shock จะทำให้ SRAS เปลี่ยนแปลง
  • การเปลรายนแปลงจะเป็นไปอย่างช้าๆ มีผลทำให้เศรษฐกิจแก่วงไกว กลายเป็นวัฏจักรธุรกิจ
  • การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยภายใน (Endogenous Theories)
  • ทฤษฎีนวัตกรรม (Innovation Theories) - การค้นพบนวัตกรรมใหม่ และความล้าสมัยของนวัตกรรมเก่า ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงของการลงทุน
  • ทฤษฏีด้านจิตวิทยา (Psychological Theory) - เมื่อนักลงทุกมองโลกในแก่ดี ก็จะเกิดการลงทุน เมื่อนักลงทุนเริ่มมองโลกในแง่ร้าย ก็เริ่มลดการลงทุน
  • ทฤษฎีวงจรสินค้าคงคลัง (Inventory Theory) - ในระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว สินค้าคงคลังจะลดลงเรื่อย ทำให้ต้องเพิ่มการลงทุนเพื่อเร่งการผลิตมากขึ้น แต่เมื่อผลิตมากเกิน ก็ต้องลดการลงทุน
  • ทฤษฎีปริมาณเงิน (Monetery Theory) - การลดหรือเพิ่มปริมาณเงิน ซึ่งเป็นนโยบายการคลังของรัฐ ทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ
  • ทฤษฎีการใช้จ่ายบริโภคต่ำเกินไป (Underconsamption Theory) เมื่อการบริโภคต่ำเกินไป สินค้าที่ผลิตขึ้นมาจะล้นตลาด
  • การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก(Exogenous Theories)
  • ทฤษฎีจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Subspot Theory) - จุดดับบนดวงอาทิตย์ทำให้เกิดพายุสุริยะ ซึ่งทำให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลง ทำให้มีผลต่อเกษตรกรรม
  • ผลกระทบที่ทำให้เกิดวัฏจักรเศรษฐกิจจากปัจจัยภายนอก - เช่น สงคราม มีทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่า ก่อนเกิดสงครามเศรษฐกิจจะดี เพราะกองทัพต้องเตรียมเสบียงผลผลิตต่างๆ และหลังสงครามจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ทฤษฎีนี้ไม่เป็นจริงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

การวัดวัฏจักรเศรษฐกิจ

การวัดวัฏจักรเศรษฐกิจ มีประโยชน์ในการพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้า เพื่อใช้วางแผนการบริหารประเทศ
วิธีการที่นิยมได้แก่การนำตัวแปรทางเศรษฐกิจที่คิดว่าสำคัญมาจัดทำในรูปของดัชนี(Index) เช่น
  • ดัชนีตัวแปรชี้ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้า หรือเรียกว่า ดัชนีตัวแปรนำ (leading indicator)
  • ตัวแปรชี้ภาวะเศรษฐกิจตามหลัง หรือดัชนีตัวแปรตาม (lagging indicator)
  • ดัชนีตัวแปรภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน (coincident indicator)

อาจารย์ผู้บรรยาย

  • รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
  • รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ