บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

ในบทนี้จะเป็นการศึกษาการกำหนดขึ้นของระดับรายได้ดุลยภาพวิธีที่ 4 ซึ่งมี อัตราดอกเบี้ย เป็นตัวแปรหลัก
  • ดุลยภาพ ในตลาดผลผลิต (เส้น IS) จะเป็นเรื่องของต้นทุนในการผลิต อัตราดอกเบี้ยสูง การลงทุนจะต่ำ ซึ่งทุกๆจุดบนเส้น IS คือระดับรายได้ประชาชาติที่มีดุลยภาพในภาคการผลิตที่อัตราดอกเบี้ยต่างๆกัน
  • ดุลยภาพ ในตลาดเงิน (เส้น LM) จะถูกกำหนดขึ้นที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานของเงิน และส่งผลต่อระดับรายได้ประชาชาติ ที่อัตราดอกเบี้ยต่างๆกัน
  • จุดที่กำหนดระดับรายได้ดุลยภาพ คือจุดที่ เกิดดุลยภาพทั้งในตลาดผลผลิต และตลาดเงินพร้อมกัน (เส้น IS ตัดกับ LM)

ตลาดผลผลิต

  • ในกรณีที่ ให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงได้ และปัจจัยอื่นๆที่เป็น Autonomous คงที่ ดุลยภาพในตลาดผลผลิต คือจุดที่ ส่วนกระตุ้น = ส่วนรั่วไหล หรือ รายได้ประชาชาติ เท่ากับ ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม
  • อัตราดอกเบี้ย จะมีผลต่อ การลงทุน (I) เขียนแทนด้วยฟังก์ชั่น I = I(r)
  • ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย จึงมีผลทำให้ ระดับรายได้ประชาชาติเปลี่ยนแปลง เกิดเป็นเส้น IS
  • เส้น IS คือเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับรายได้ดุลยภาพในตลาดผลผลิต
  • ทุกๆจุดบนเส้น IS คือจุดดุลยภาพ เมื่อเราพิจารณาจากปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย
98 goods market and IS curve12.png

รายได้ประชาชาติดุลยภาพในตลาดผลผลิตในกรณีต่างๆ

  • ระบบเศรษฐกิจปิด ไม่มีรัฐบาล
  • Y = C + I ตามเงื่อนไขวิธี Income-Expenditure Approach
  • I = S ตามเงื่อนไขวิธี Withdrawal-Injection Approach
  • AD = AS ตามเงื่อนไขวิธี Aggregate demand-Aggregate Supply
  • ระบบเศรษฐกิจปิด มีรัฐบาล
  • Y = C + I + G ตามเงื่อนไขวิธี Income-Expenditure Approach
  • I+G = S+T ตามเงื่อนไขวิธี Withdrawal-Injection Approach
  • AD = AS ตามเงื่อนไขวิธี Aggregate demand-Aggregate Supply
  • ระบบเศรษฐกิจเปิด มีรัฐบาล
  • Y = C + I + G + X -IM ตามเงื่อนไขวิธี Income-Expenditure Approach
  • I+G+X = S+T+IM ตามเงื่อนไขวิธี Withdrawal-Injection Approach
  • AD = AS ตามเงื่อนไขวิธี Aggregate demand-Aggregate Supply

การคำนวณหาเส้น IS ในรูปของสมการ

ตัวอย่าง
กำหนดให้
S = -100 + 0.2Yd
I = 150 - 6r
T = 0.25Y
G = 100
การคำนวณ
เงื่อนไขดุลยภาพในตลาดผลผลิต
I+G = S + T
150 - 6r + 100 = -100 + 0.2(Y-T) + 0.25Y
250 - 6r  = -100 + 0.2Y - 0.05Y + 0.25Y
350 - 6r = 0.4Y
Y = 875 - 15r ===> สมการ IS

การเปลี่ยนแปลงของเส้น IS

การเปลี่ยนแปลงของเส้น IS จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต่างๆ คูณด้วยตัวทวีของตัวแปรนั้นๆ

IS จะเลื่อนไปทางขวา เมื่อมีความต้องการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

  • การออมลดลง (S ลด,C เพิ่ม)
  • การลงทุนเพิ่มขึ้น (I เพิ่ม)
  • รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้น (G เพิ่ม)
  • รายรับจากภาษีลดลง (T ลด)
  • การส่งออกเพิ่มขึ้น (X เพิ่ม)
  • การนำเข้าลดลง (IM ลด)

IS จะเลื่อนไปทางขวา เมื่อมีความต้องการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจลดลง

  • การออมเพิ่มขึ้น (S เพิ่ม,C ลด)
  • การลงทุนลดลง (I ลด)
  • รายจ่ายของรัฐบาลลดลง (G ลด)
  • รายรับจากภาษีเพิ่มขึ้น (T เพิ่ม)
  • การส่งออกลดลง (X ลด)
  • การนำเข้าเพิ่มขึ้น (IM เพิ่ม)

ตลาดเงินตรา (Money Market)

ในการหาความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยกับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ จะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 ขั้นตอน
  1. จุดดุลยภาพในตลาดเงิน ในระดับอัตราดอกเบี้ยต่างๆ จะอยู่ที่ เส้น อุปสงค์ของเงิน (LP) ตัดกับ เส้นอุปทานของเงิน (Ms)
  2. ระดับอัตราดอกเบี้ยในข้อ 1. จะส่งผลต่อระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ เขียนได้เป็น เส้น LM

ลักษณะของเส้น LM

  • ช่วงที่เส้น LM ขนานกับแกนรายได้ประชาชาติ เรียกว่า ช่วงเคนส์
  • ช่วงที่เส้น LM ตั้งฉากกับแกนรายได้ประชาชาติ เรียกว่า ช่วงคลาสสิก
  • ช่วงกลาง เป็นช่วงที่เส้น LM อยู่ระหว่างช่วงเคนส์ กับช่วงคลาสสิก เส้น LM มี Slope เป็นบวก
Figure14.2.gif

เส้น LP และ LM

จากรูปด้านล่าง
  • ปริมาณเงิน (Ms) หรือ อุปทานของเงิน คือเส้น M0P0
  • อุปสงค์ของเงิน (เส้น LP) ที่ระดับอัตราดอกเบี้ยต่างๆ คือเส้น Ld(Yx)
  • (ภาพขวา) ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ระดับรายได้ประชาชาติก็จะสูงขึ้นด้วย
  • (ภาพซ้าย) ถ้าระดับรายได้ประชาชาติสงขึ้น โดยที่ปริมาณเงินไม่เปลี่ยนแปลง เส้น LP จะขยับสูงขึ้นตาม
  • ความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยกับรายได้ประชาชาติ ที่ทำให้เกิดดุลยภาพในตลาดเงินตรา คือปริมาณเงิน = ความต้องการถือเงิน เราเรียกว่าเส้น LM
301l8 20.gif

ตัวอย่างการคำนวณหาเส้น LM

กำหนดให้
สมการอุปทานของเงิน Ms = 150
สมการอุปสงค์ของเงิน LP = 0.2Y -2r
วิธีทำ
เงื่อนไขดุลยภาพในตลาดเงิน 
LP = Ms
0.2Y - 2r = 150
0.2Y = 150 + 2r
Y = 750 + 10r  ===> สมการ LM

การวิเคราะห์ดุลยภาพร่วมกันของตลาดผลผลิตและตลาดเงินตรา

ตัวอย่าง จงคำนวณหาสมการของเส้น IS และ LM และคำนวณหาระดับอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ และ ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพโดย กำหนดให้
C = 100 + 0.8Yd
I = 100 - 6r
Yd = Y - T
T = 0.25Y
Md = 0.2Y -4r
Ms = 155
G = 250

วิธีทำ ช่วงที่ 1 หาสมการ IS โดยเริ่มจากสภาวะดุลยภาพในตลาดการผลิต
I + G = S + T
จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา
C = 100 +0.8Yd 
ดังนั้น 
S = -100 + 0.2Yd  --> สูตร S = -C0 + MPS.Yd 

แทนค่าต่างๆในสมการ I + G = S + T จะได้ว่า
100 - 6r + 250 = -100 + 0.2(Y - 0.25T) + 0.25Y
แก้สมการได้
Y = 1,125 -15r  ----- สมการ IS
ช่วงที่ 2 หาสมการ LM จากเงื่อนไขที่ว่า อุปสงค์ของเงิน(Md) = อุปทานของเงิน(Ms)
Md = Ms 
0.2Y -4r = 155
Y = 775 + 20r ----- สมการ LM
ช่วงที่ 3 อัตราดดอกเบี้ย และรายได้ประชาชาติ คำณวณได้ดังนี้
Y บนเส้น IS = Y บนเส้น IM
1,125 -15r = 775 + 20r
-35r = -350
r = 10 ---- อัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ
นำค่า r ไปแทนค่าในสมการ Is หรือ LM ก็ได้ เพื่อหา Y
แทนใน IS 
Y = 1,125 - 15(10)
Y = 975 ----- ระดับรายได้ดุลยภาพ

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเส้น IS และ LM

การเปลี่ยนแปลงเส้น IS

  • กรณี IS เลื่อนไปทางขวาจะทำให้ทั้งรายได้ประชาชาติและอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพเพิ่มขึ้น
  • กรณี IS เลื่อนไปทางซ้ายจะทำให้ทั้งรายได้ประชาชาติและอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพลดลง
  • ถ้า IS เลื่อนไปทางขวา แต่อัตราดอกเบี้ยยังคงเท่าเดิม
  • อุปสงค์ของเงินมากกว่าอุปทานของเงิน
  • ประชาชนจะนำหลักทรัพย์มาขายกันมาก
  • ราคาหลักทรัพย์จะลดลง
  • อัตตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้น ทำให้การลงทุนของเอกชนลดลง
  • ในที่สุดรายได้ประชาชาติจะลดลงมาอยู่ที่จุดดุลยภาพใหม่
Figure14.4.gif

การเปลี่ยนแปลงเส้น LM

  • ถ้า LM เลื่อนไปทางขวา จะทำให้ ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพเพิ่มสูงขึ้น แต่อัตราดอกเบี้ยลดลง
  • ถ้า LM เลื่อนไปทางซ้าย จะทำให้ ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพลดลง แต่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น

ผลของนโยบายการเงินและการคลังต่อ IS และ LM

  • การเปลี่ยนแปลงเส้น IS ทางหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง G และ T
  • การเปลี่ยนแปลงเส้น LM ทางหนึ่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน (ใช้นโยบายการเงิน)

เส้นอุปสงค์รวม (Aggregate Demand) : การวิเคราะห์กรณีระดับราคาเปลี่ยนแปลง

การศึกษาในหัวข้อที่ผ่านมา เป็นการศึกษาดุลยภาพในตลาดผลผลิตและตลาดเงินตรา โดยมีข้อสมมติว่าระดับราคาคงที่ ในหัวข้อนี้ จะยกเลิกข้อสมมตินั้นออกไป เพื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาว่ามีผลต่อรายได้ประชาชาติดุลยภาพใน 2 ตลาดอย่างไร

ผลของการเปลี่ยนแปลงระดับราคาต่อเส้น LM

  • การเปลี่ยนแปลงระดับราคา ทำให้ปริมาณเงินที่แท้จริง(Ms)เปลี่ยนแปลงไป
  • ถ้าระดับราคาเพิ่มขึ้น ปริมาณเงินที่แท้จริง(อุปทานของเงิน)จะลดลง ทำให้เส้น LM เลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิม
  • เมื่อเส้น LM เลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิม รายได้ประชาชาติจะลดลง
  • ถ้าระดับราคาลดลงขึ้น ปริมาณเงินที่แท้จริง(อุปทานของเงิน)จะเพิ่มขึ้น ทำให้เส้น LM เลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิม
  • เมื่อเส้น LM เลื่อนไปทางขวาของเส้นเดิม รายได้ประชาชาติจะสูงขึ้น

การเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติดุลยภาพในตลาดผลผลิตและตลาดเงินตรากับเส้น AD

  • กรณีที่ระดับราคาเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆคงที่ รายได้ประชาชาติดุลยภาพใน 2 ตลาดจะเปลี่ยนแปลงบนเส้น AD
  • กรณีที่ระดับราคาคงที่ ในขณะที่ปัจจัยอื่นๆเปลี่ยนแปลง จะทำให้เส้นอุปสงค์รวม (AD) เปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น

สรุปสิ่งที่เป็น เหตุ-ผล ของวิธี IS-LM

เส้น LP
  • เหตุ : อุปสงค์ของเงิน และ อุปทานของเงิน
  • ผล : อัตราดอกเบี้ย

อาจารย์ผู้บรรยาย

  • รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
  • รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ