บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม

บทที่ 5 และ บทที่ 6 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอธิบายการกำหนดขึ้นและการเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ดุลยภาพด้วยวิธี Aggregate Demand - Aggregate Supply โดยบทที่ 5 เป็นเรื่องของ Aggregate Demand ส่วนบทที่ 6 เป็นเรื่องของ Aggregate Supply และการวิเคราะห์ระดับรายได้ดุลยภาพร่วมกับ Aggregate Demand เพื่อตอบคำถามว่า ระดับรายได้ดุลยภาพถูกกำหนดขึ้นด้วยปัจจัยใด เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอะไร

เส้นอุปทานรวม (The Aggregate Supply Curve : AS)

อุปทานรวม (Aggregate Supply) หมายถึง ผลผลิตทั้งหมดของสินค้าและบริการที่หน่วยผลิตต้องการที่จะผลิตที่ระดับราคาต่างๆ โดยหน่วยผลิตคาดว่าจะขายสินค้าจำนวนเท่าใดก็จะสามารถขายได้ทั้งหมด
การพิจารณา AS ต้องพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ
  1. Short-run Aggregate Supply (SRAS) Curve เป็นความสัมพันธ์ของราคาและผลผลิตในระยะสั้น ซึ่งมีข้อสมมติว่า ราคาปัจจัยการผลิตคงที่ เช่น ค่าเช่า ค่าจ้าง และดอกเบี้ยคงที่
  2. Long-run Aggregate Supply (LRAS) Curve เป็นความสัมพันธ์ของราคาและผลผลิตในระยะยาว หลังจากมีการปรับอัตราค่าจ้างและราคาของปัจจัยการผลิต เพื่อขจัดปัญหาขาดแคลนแรงงานแล้ว

ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการผลิตกับผลผลิต

ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการผลิตกับผลผลิต จะเป็นไปในเชิงบวก คือการเพิ่มผลผลิตจะต้องใช้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย(Unit cost)เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับเส้น MC ในทฤษฏีเศรษฐศาสตร์จุลภาค

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคากับผลผลิต

  • กรณีตลาดแข่งขันสมบูรณ์  : price takers ราคาถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน ผู้ผลิตต้องกำหนดปริมาณการผลิตที่ทำให้ตัวเองได้กำไรสูงสุด
  • กรณีตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ : price setters ผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดราคา ผู้ผลิตสามารถเพิ่มราคาเพื่อชดเชย Unit Cost ที่เพิ่มสูงขึ้น
  • สรุป ทั้ง Price setting Firm และ Price Takers Firm พบว่าระดับราคาและผลผลิตมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก ถ้าเราเอาความสัมพันธ์นี้ไปพล็อตกราฟ ก็จะได้ Short run Aggregate Curve

เส้น SRAS (Short run aggregate supply)

เส้น SRAS มักจะเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้น SRAS เปลี่ยนแปลงได้จาก 2 สาเหตุคือ
  1. การเปลี่ยนแปลงของราคาปัจจัยการผลิต (Change in the price of input) เช่น ค่าแรงแพงขึ้น ที่ดินแพงขึ้น
  2. การเพิ่มขึ้นของผลิตภาพในปัจจัยการผลิต (Increase in productivity of resource) เช่น แรงงานแต่ละคนสามารถสร้างผลผลิตได้มากขึ้น
SRASshiftRight.gif

ผลของการเปลี่ยนแปลงระดับราคา Change in the price of input

  • หากราคาปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น (ต้นทุนเพิ่ม) ผลผลิตจะลดลง เส้น SRAS จะเลื่อนไปทางซ้าย
  • หากราคาปัจจัยการผลิตลดลง (ต้นทุนลดลง) ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น เส้น SRAS จะเลื่อนไปทางขวา

ผลของการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพในการผลิต Increase in productivity of resource

เกิดจากแรงงานแต่ละบุคคลสามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลง ตราบเท่าที่อัตราค่าจ้างสูงขึ้นน้อยกว่าผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้นจากหน่วยผลิตแข่งกันลดราคาสินค้าทำให้เกิดความพยายามทำให้ต้นทุนลดลง หมายความว่า ณ ระดับปริมาณการผลิตต่างๆ ผลผลิตจะถูกขายในราคาที่ต่ำกว่าเดิม
  • หากประสิทธิภาพการผลิตเพิ่ม SRAS จะเลื่อนไปทางขวา
  • หากประสิทธิภาพการผลิตลดลง SRAS จะเลื่อนไปทางซ้าย

เส้น LRAS (Long run aggregate Supply)

เส้น LRAS เป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระดับราคาสินค้ากับ Real National Income ณ ระดับที่มีการจ้างงานเต็มที่ (full employment) ผลผลิตในระดับนี้เรียกว่า Potential Input หรือ Potential Income ลักษณะของเส้น LRAS จะเป็นเส้น Vertical Line ที่ระดับ Y*
Lras.jpg
  • ไม่ว่าระดับราคาจะเป็นเท่าไหร่ รายได้ดุลยภาพก็ไม่เปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงระดับราคา
  • เส้น LRAS บางครั้งเรียกว่า Classical Aggregate Supply เพราะว่านักเศรษฐศาสตร์กลุ่มคลาสสิกมักสนใจลักษณะของธุรกิจซึ่งเป็นดุลยภาพในระยะยาว
  • ลักษณะ Vertical Line ของ LRAS ไม่เหมือนกับ ส่วนที่เป็น Vertical Line ของ SRAS
  • ส่วนที่เป็น Vertical Line ของ SRAS เกิดจากเศรษฐกิจมีข้อจำกัดในทรัพยากรไม่สามารถผลิตได้อีก
  • ส่วนที่เป็น Vertical Line ของ LRAS เกิดจากกลไกที่ปรับให้เศรษฐกิจมาอยู่ที่ระดับ Potential Output

ดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Equilibrium)

  • รายได้ประชาชาติและระดับราคาดุลยภาพถูกกำหนด ณ จุดที่เส้นอุปสงค์รวม (Aggregate Demand : AD) ตัดกับเส้นอุปทานรวม (Aggregate Supply:AS) หรือที่จุด AD=AS
  • ถ้าระดับราคาและรายได้ประชาชาติ ไม่อยู่ในจุดดุลยภาพ ผลผลิตจะไม่สมดุลกับความต้องการ ทำให้ทั้งระดับราคาและรายได้ปรับเข้าหาจุดดุลยภาพ

การเปลี่ยนแปลงของรายได้ดุลยภาพและระดับราคาในระยะสั้น

Adas.png
  • รายได้ประชาชาติดุลยภาพและระดับราคาดุลยภาพ ในระยะสั้น ถูกกำหนดขึ้นที่จุดตัดของเส้น AD และ SRAS
  • ถ้าเส้น AD หรือ SRAS เปลี่ยนแปลง จะทำให้รายได้ประชาชาติดุลยภาพเปลี่ยนแปลงด้วย
  • ถ้าเส้น AD เปลี่ยนแปลงโดย SRAS คงที่ จะทำให้รายได้ดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกัน
  • ถ้าเส้น SRAS เปลี่ยนแปลงโดย AD คงที่ จะทำให้รายได้ดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงข้าม

การเปลี่ยนแปลงของระดับรายได้ดุลยภาพ เมื่อ AD เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงรายได้ดุลยภาพ จะเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดการเปลี่ยนแปลงของ Autonumous Expenditure และขนาดของตัวทวี(Multiplier)

การทำงานของตัวทวีเมื่อระดับราคาสินค้าคงที่

เมื่อกำหนดให้ระดับราคาคงที่ การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติจะเท่ากับตัวทวีคูณการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่าย
ΔY = k.ΔA

การทำงานของตัวทวีเมื่อระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงได้

ในกรณีที่เรากำหนดให้ระดับราคาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ การวิเคราะห์ระดับรายได้ดุลยภาพ จะต้องวิเคราะห์ AE,SRAS,AD ร่วมกัน โดยมี 2 ขั้นตอน ดังนี้
(กราฟในหนังสือหน้า 112)
ขั้นที่ 1. เมื่อกำหนดให้ระดับราคาสินค้าคงที่ และเพิ่มค่าใช้จ่ายที่เป็น Autonomous (ΔA) จะทำให้เส้น AE เลื่อนขึ้น
  • จุดดุลยภาพจะเปลี่ยนไปเป็นจุดใหม่ ที่ AE เส้นใหม่ ตัดกับเส้น Y=AE
  • ระดับรายได้ดุลยภาพ จะเพิ่มขึ้นตามจุดดุลยภาพใหม่ ที่ระดับราคาเดิม โดยรายได้ประชาชาติเพิ่มชึ้น(ΔY) = k.ΔA
  • เส้น AD จะเลื่อนไปทางขวา และตัดกับเส้น SRAS ที่ระดับรายได้ดุลยภาพใหม่
ขั้นที่ 2. พิจารณา SRAS ที่ระดับราคาเดิม จะพบว่าผู้ผลิตเต็มใจที่จะผลิตสินค้าน้อยกว่าระดับรายได้ดุลยภาพใหม่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาดุลยภาพ และรายได้ดุลยภาพที่แท้จริง
  • ราคาดุลยภาพจะเพิ่มขึ้นเป็นราคาดุลยภาพใหม่ ที่จุดตัดของเส้น AD กับ SRAS
  • รายได้ดุลยภาพจะปรับลดลงมาตรงกับจุดตัดของเส้น AD กับ SRAS
ข้อสังเกตุ
  • ถ้าเส้น SRAS ขนานกับแกนรายได้ประชาชาติ การเปลี่ยนแปลงของเส้น AD ไม่มีผลทำให้ระดับราคาดุลยภาพเปลี่ยนแปลง แต่รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงตามสูตร ΔY = k.ΔA
  • ถ้าเส้น SRAS มี Slope เป็นบวก การเปลี่ยนแปลงจะมีผลทำให้ระดับราคาดุลยภาพเปลี่ยนแปลง และรายได้ประชาชาติก็จะเปลี่ยนแปลงด้วย แต่น้อยกว่าในกรณีแรก
  • ถ้าเส้น SRAS ตั้งฉากกับแกนรายได้ประชาชาติ การเปลี่ยนแปลงของเส้น AD จะทำให้ระดับราคาดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แต่รายได้ประชาชาติดุลยภาพไม่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติเมื่ออุปทานรวม(SRAS) เปลี่ยนแปลง

(กราฟหน้า 113)
  • การเปลี่ยนแปลงของ SRAS จะทำให้ระดับรายได้ประชาชาติดุลนภาพเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • หาก SRAS เลื่อนไปทางขวา รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะลดลง
  • หาก SRAS เลื่อนไปทางซ้าย รายได้ประชาชาติดุลยภาพจะเพิ่มขึ้น

การเปลี่ยนแปลงของดุลยภาพในระยะยาว LRAS

ดุลยภาพในระยะยาว จะเกิดที่จุดที่เส้น LRAS ตัดกับเส้น AD
Image012.jpg 2007-12-04 120239.gif
  • การเปลี่ยนแปลงของเส้น AD จะทำให้ระดับราคาดุลยภาพเปลี่ยนแปลงไป แต่ไม่ทำให้รายได้ดุลยภาพเปลี่ยนแปลง
  • การเปลี่ยนแปลงของเส้น LRAS เมื่อเส้น LRAS เลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา จะทำให้ราคาดุลยภาพและระดับรายได้ดุลยยภาพเปลี่ยนแปลงไป

รายได้ประชาชาติดุลยภาพในระยะสั้นและระยะยาว

เงื่อนไขดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจมี 2 ลักษณะดังนี้
  1. ในระยะสั้น ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจจะอยู่ ณ ระดับที่เส้น SRAS ตัดกับเส้น AD ระดับรายได้และระดับราคา ณ จุดนี้เรียกว่า ระดับรายได้ดุลยภาพและระดับราคาดุลยภาพ
  2. ในระยะยาว ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจจะอยู่ ณ ระดับที่เส้น LRAS ตัดกับเส้น AD โดยที่เส้น LRAS เป็นเส้น Vertical Line เพราะระบบเศรษฐกิจอยู่ ณ ระดับ Potential Output
ข้อสรุป
  • เมื่อเศรษฐกิจมีดุลยภาพในระยะยาว แสดงว่าเกิดดุลยภาพในระยะสั้นด้วย ดังนั้น ภาวะดุลยภาพจึงอยู่ที่จุดตัดกันของทั้งเส้น AD,SRAS และ LRAS
  • การเปลี่ยนแปลงรายได้ดุลยภาพ พิจารณาได้ 3 กรณีคือ
  • AD เปลี่ยนแปลง
  • SRAS เปลี่ยนแปลง
  • LRAS เปลี่ยนแปลง
  • ในกรณีที่ AD เพิ่มขึ้น ระดับรายได้ดุลยภาพในระยะสั้น (จุดที่ AD ตัดกับ SRAS) จะสูงกว่า ระดับรายได้ดุลยภาพในระยะยาว (จุดที่ AD ตัดกับ LRAS) รายได้ประชาชาติดุลยภาพใหม่จะอยู่ได้ไม่นาน เพราะความต้องการใช้จ่ายรวมสูงกว่าความสามารถในการผลิต ทำให้เกิด inflationary gap ซึ่งทำให้ C และ NX ลดลง ในที่สุด AD จะกลับมาที่เดิม
  • ในกรณีที่ SRAS เพิ่มขึ้น ระดับรายได้ดุลยภาพจะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ผลนี้จะอยู่ไม่นานเพราะระดับรายได้ดุลยภาพใหม่จะทำให้อัตราค่าจ้างและราคาปัจจัยการผลิตอื่นๆเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทำให้เส้น SRAS เลื่อนกับมาที่เดิม
  • ในกรณีที่ LRAS เลื่อนไปทางขวา แสดงว่ามี potential income เพิ่มขึ้น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้เรื่อยๆ รายได้ประชาชาติจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Supply Side Economic

ในช่วงประมาณปี 1973 ได้เกิดภาวะเงินเฟ้อพร้อมๆกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในอเมริกา หรือที่เรียกว่าเกิดภาวะ stagflation ซึ่งหมายถึงเกิดภาวะ stagnation พร้อมๆกับ inflation ในสภาวะดังกล่าว การแก้ไขปัญหาด้วยวิธี Demand Side Economics ไม่สมารถแก้ปัญหาได้ หากไปกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวโดยการเพิ่มอุปสงค์รวมก็จะไปซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อ หากลดเงินเฟ้อด้วยการลดอุปสงค์รวมก็จะไปซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน จนกระทั่ง คศ 1980 แนวคิดกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจแบบ Supply Side ก็ได้รับความนิยม โดยประธานาธิบดี Reagan นำไปใช้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกจ โดยใช้วิธีการที่จะทำให้เส้น LRAS และ SRAS เลื่อนไปทางขวาพร้อมๆกัน
มาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่งคือมาตรการทางภาษี โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีเพื่อให้เกิดแรงจูงใจต่อหน่วยผลิตให้เพิ่มการลงทุน ซึ่งจะทำให้ potential national income เพิ่มขึ้น
การลดภาษี ยังช่วยให้คนมีแรงจูงใจทำงานมากขึ้น คนใช้เวลาทำงานมากขึ้น และมีคนอยู่นอกกำลังแรงงานลดลง อันเนื่องมาจากค่าจ้างหลังหักภาษีมากขึ้นนั่นเอง นักทฤษฎีทางด้าน Supply side กล่าวว่า ผลจากการเพิ่มความสามารถในการผลิต ทำให้ LRAS เลื่อไปทางขวา และทำให้ระดับรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อลดลง
นอกจากนี้ รัฐยังสามารถเก็บภาษีได้สูงกว่าเดิม แม้จะลดอัตราภาษีลง เนื่องจากรายได้ประชาชาติที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยืนยันโดยศาสตราจารย์ Arthur Laffer ซึ่งแสดงให้เห็นโดยเส้น Laffer Curve
Econom45.gif
  • หากเก็บภาษีมากเกินไป จะไม่เกิดแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้ผลผลิตต่ำ และมีรายได้จากภาษีน้อยลง
  • หากกำหนดอัตราภาษีที่จุด X' รัฐจะมีรายรับจากภาษีสูงที่สุด
  • หากเก็บภาษีน้อยเกินไป รายรับจากภาษีจะน้อยลง

อาจารย์ผู้บรรยาย

  • รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
  • รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ