บทที่ 5 รายได้ประชาชาติและระดับราคา

การศึกษาระดับรายได้ดุลยภาพในบทก่อนหน้านี้ เป็นการอธิบายโดยมีข้อสมมติอยู่เบื้องหลังว่าระดับราคาคงที่ ซึ่งในความเป็นจริง ระดับราคาไม่คงที่ และมีผลต่อระดับรายได้ดุลยภาพ ดังัน้นในบทนี้จะยกเลิกข้อสมมติที่ว่าระดับราคาคงที่ เพื่อที่จะพัฒนาการศึกษาด้วยวิธีถัดไป คือ Aggregate Demand - Aggregate Supply Approach โดยจะแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นคือ
  1. ระดับที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของระดับราคา เกิดจากปัจจัยภายนอก (exogeous variable)
  2. ระดับที่ 2 จะใช้แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ดุลยภาพกับระดับราคา โดยใช้เส้น Aggregate Demand - Aggregate Supply เป็นเครืองมือในการวิเคราะห์

การเปลี่ยนแปลงเส้น AE

การเปลี่ยนแปลงระดับราคามีผลต่อ C และ Net Export ดังนี้
  • การเพิ่มขึ้นของระดับราคาทำให้มูลค่าแท้จริงของสินทรัพย์ของครัวเรือนลดลง ทำให้ C ลดลง ซึ่งทำให้ AE ลดลง
  • การเพิ่มขึ้นของระดับราคา ทำให้สินค้าในประเทศมีราคาแพง ทำให้การส่งออกลดลง และมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ AE ลดลง

ข้อสรุป ผลของการเปลี่ยนแปลงระดับราคา กับ การเปลี่ยนแปลงเส้น AE

  • ระดับราคาสูงขึ้น ทำให้เส้น AE เลื่อนลง
  • ระดับราคาลดลง ทำให้เส้น AE เลื่อนขึ้น
  • กล่าวได้ว่า ระดับราคามีความสัมพันธ์กับ AE ใสนทิศทางตรงข้าม

เส้น Aggregate Demand Curve

เส้น Aggregate Demand Curve เป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้ากับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ซึ่งความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
Adae.jpg
  • จากกราฟทางขวา สมมติที่ระดับราคา P1 ระดับรายได้ดุลยภาพคือ Y1
  • เมื่อระดับราคาสูงขึ้นเป็น P2 ระดับรายได้ดุลยภาพจะเปลี่ยนเป็น Y2
  • เมื่อระดับรายได้ดุลยภาพจะเปลี่ยนเป็น Y2 เส้น AE ก็จะต้องตัดกับ เส้น 45 องศาที่จุด B จึงเลื่อนลงมาเป็นเส้น AEP=P2
  • เมื่อระดับราคาสูงขึ้นเป็น P3 ระดับรายได้ดุลยภาพจะเปลี่ยนเป็น Y3
  • เมื่อระดับรายได้ดุลยภาพจะเปลี่ยนเป็น Y3 เส้น AE ก็จะต้องตัดกับ เส้น 45 องศาที่จุด B จึงเลื่อนลงมาเป็นเส้น AEP=P3
  • เมื่อลากเส้นต่อจุด A',B',C' ในกราฟทางขวา ก็จะได้เส้น AD

ความสัมพันธ์ของเส้น AE กับเส้น AD

จากภาพในหัวข้อที่แล้ว สมมติว่าระดับราคาคงที่ที่ P2 กราฟทางซ้ายจะเหลือเส้น AEP=P2 เพียงเส้นเดียว
  • จุดที่ P = P2 และ Y = Y3 ในกราฟทางขวา จะไม่อยู่บนกราฟ AD แต่อยู่ทางขวาของกราฟ AD
  • จุดที่ P = P2 และ Y = Y3 ในกราฟทางซ้าย AE จะสูงกว่าระดับรายได้ดุลยภาพในปัจจุบัน ดังนั้นหน่วยผลิตจะเพิ่มการผลิต
และ
  • จุดที่ P = P2 และ Y = Y1 ในกราฟทางขวา จะไม่อยู่บนกราฟ AD แต่อยู่ทางขวาของกราฟ AD
  • จุดที่ P = P2 และ Y = Y1 ในกราฟทางซ้าย AE จะต่ำกว่าระดับรายได้ดุลยภาพในปัจจุบัน ดังนั้นหน่วยผลิตจะลดการผลิตเพื่อให้ขายได้
สรุปได้ว่า
  • จุดต่างๆที่อยู่บนเส้น AD แสดงว่าเป็นระดับราคาสินค้าที่ทำให้ AE = รายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นระดับรายได้ดุลยภาพ
  • จุดต่างๆที่อยู่ทางซ้ายมือของเส้น AD เป็นระดับราคาสินค้าที่ทำให้ค่า AE> รายได้ประชาชาติ ผล จะเป็นแรงผลักดันให้ระดับรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น
  • จุดต่างๆที่อยู่ทางขวามือของเส้น AD เป็นระดับราคาสินค้าที่ทำให้ค่า AE< รายได้ประชาชาติ ผล จะเป็นแรงผลักดันให้ระดับรายได้ประชาชาติลดลง

การเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติดุลยภาพกับเส้น AD

  • ถ้าระดับราคาเปลี่ยนแปลง รายได้ดุลยภาพจะเปลี่ยนแปลงอยู่บนเส้น AD
  • ถ้าปัจจัยอื่นๆเปลี่ยนแปลง จะมีผลทำให้เส้น AE เปลี่ยนไปทั้งเส้น ซึ่งจะมีผลทำให้ AD เปลี่ยนไปทั้งเส้นด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงนี้เรัยกว่า Aggregate Demand Shock
  • การเพิ่มขึ้นของ C,I,G,X-IM จะมีผลทำให้ AD เลื่อนไปทางขวาของเส้นเดิม
  • การลดลงของ C,I,G,X-IM จะมีผลทำให้ AD เลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิม

ตัวทวีแบบง่ายและเส้น AD(The Simple Multiplier and AD curve)

จากหัวข้อที่ผ่านมา เราสรุปได้ว่า การเพิ่มขึ้นของ C,I,G,X-IM จะมีผลทำให้ AD เลื่อนไปทางขวาของเส้นเดิม และ การลดลงของ C,I,G,X-IM จะมีผลทำให้ AD เลื่อนไปทางซ้ายของเส้นเดิม นั้น

เราจะให้การเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายที่เป็น Autonomuos หรือระยะทางของ AE ที่เปลี่ยนแปลงไป แทนด้วยตัวแปร ΔA และให้ระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพที่เปลี่ยนแปลงไป แทนด้วยตัวแปร ΔY จะได้สมการดังนี้
ΔY = k.ΔA
โดยที่ k คือ ตัวทวีแบบง่าย
  • โดยทั่วไปแล้ว k จะมากกว่า 1 ยกเว้นกรณีที่ Z=0 ดังนั้นในกรณีปกติทั่วไป ΔY จะมากกว่า ΔA

อาจารย์ผู้บรรยาย

  • รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
  • รองศาสตราจารย์สุกัญญา ตันธนวัฒน์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

บทที่ 6 บทบาทด้านอุปทานรวม

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ