บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

บทที่ 9 การเงิน การธนาคาร และนโยบายการเงิน

นิยามของเงิน เงิน คือ สิ่งซึ่งสังคมหนึ่งๆ ยอมรับให้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งสะสมมูลค่า เป็นสิ่งวัดมูลค่า หน้าที่ของเงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งสะสมมูลค่า เป็นสิ่งวัดมูลค่า ปริมาณเงิน ปริมาณเงินในความหมายแคบ  = เงินสดที่ไม่อยู่ในมือสถาบันรับฝากเงินและรัฐบาล + เงินรับฝากกระแสรายวันที่สถาบันรับฝากเงิน ปริมาณเงินในความหมายกว้าง  = ปริมาณเงินในความหมายแคบ + เงินรับฝากที่มีสภาพคล่องสูงกึ่งเงินสด ในประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านปริมาณเงิน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบบธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (The Federal Reserve System) ธนาคารกลางของอเมริกา(Fed) เป็นองค์กรของเอกชนที่ประกอบขึ้นจากธนาคารพานิชย์ ซึ่งทำหน้าที่ของธนาคารกลางเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ องค์ประกอบสำคัญของ Fed ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้ คณะกรรมการผู้ว่าการ (Bord of Goernors) คณะกรรมการที่ปรึกษา (The Federal Advisory Council) ธนาคารกลาง 12 แห่ง (The 12 Federal Reserve Bank) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (The Federal Open Market Committee : FOMC) ธนาคารพานิชย์ที่เป็น...

บทที่ 8 วัฏจักรธุรกิจ

รูปภาพ
ความหมายของวัฏจักรธุรกิจ วัฏจักรธุรกิจ (Budiness Cycle)  หมายถึง สภาวะความผันผวนขึ้นๆลงๆของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเคลื่อนไหวขึ้นๆลงๆ ของ GDP ในวัฏจักรหนึ่งๆ จะมี 4 ช่วงคือ ภาวะตกต่ำ (Trough)  มีการว่างงานสูง ระดับความต้องการสินค้าต่ำเมื่อเทียบกับกำลังการผลิต ภาวะฟื้นตัวหรือขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Recovery หรือ Expansion) ภาวะรุ่งเรือง (Peak)  เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักร ณ จุดสูงสุดนี้ประสิทธิภาพการผลิตถูกดึงมาใช้อย่างเต็มที่ ภาวะถดถอยหรือหดตัว (Recession หรือ Contraction)  เป็นช่วงที่มีการหดตัวของ GDP หากเกิดภาวะนี้เป็นเวลานานเรียกว่า เศรษฐกิจตกต่ำ (Depression) เมื่อเราแบ่งวัฏจักรออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนแรก เป็นส่วนที่ Cycle กำลังขึ้น เรียกว่า Boom ส่วนที่สอง เป็นส่วนที่ Cycle กำลังลง เรียกว่า Slump สาเหตุที่ทำให้เกิดวัฏจักรธุรกิจ พิจารณาจากอุปสงค์รวม เกิดจากปัจจัยด้านอุปสงค์เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิด AD Shock AD Shock จะทำให้ SRAS เปลี่ยนแปลง การเปลรายนแปลงจะเป็นไปอย่างช้าๆ มีผลทำให้เศรษฐกิจแก่วงไกว กลายเป็นวัฏจักรธุรกิจ การเป...

บทที่ 7 การวิเคราะห์ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ โดยใช้แบบจำลอง IS-LM หรือวิธีดุลยภาพทั่วไป

รูปภาพ
ในบทนี้จะเป็นการศึกษาการกำหนดขึ้นของระดับรายได้ดุลยภาพวิธีที่ 4 ซึ่งมี  อัตราดอกเบี้ย  เป็นตัวแปรหลัก ดุลยภาพ ในตลาดผลผลิต  (เส้น IS) จะเป็นเรื่องของต้นทุนในการผลิต อัตราดอกเบี้ยสูง การลงทุนจะต่ำ ซึ่งทุกๆจุดบนเส้น IS คือระดับรายได้ประชาชาติที่มีดุลยภาพในภาคการผลิตที่อัตราดอกเบี้ยต่างๆกัน ดุลยภาพ ในตลาดเงิน  (เส้น LM) จะถูกกำหนดขึ้นที่อุปสงค์เท่ากับอุปทานของเงิน และส่งผลต่อระดับรายได้ประชาชาติ ที่อัตราดอกเบี้ยต่างๆกัน จุดที่กำหนดระดับรายได้ดุลยภาพ คือจุดที่ เกิดดุลยภาพทั้งในตลาดผลผลิต และตลาดเงินพร้อมกัน (เส้น IS ตัดกับ LM) ตลาดผลผลิต ในกรณีที่ ให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงได้ และปัจจัยอื่นๆที่เป็น Autonomous คงที่ ดุลยภาพในตลาดผลผลิต คือจุดที่  ส่วนกระตุ้น = ส่วนรั่วไหล  หรือ รายได้ประชาชาติ เท่ากับ ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม อัตราดอกเบี้ย จะมีผลต่อ การลงทุน (I)  เขียนแทนด้วยฟังก์ชั่น  I = I(r) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย จึงมีผลทำให้ ระดับรายได้ประชาชาติเปลี่ยนแปลง เกิดเป็น เส้น IS เส้น IS  คือเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว...

บทที่ 3 ทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ

รูปภาพ
ประเด็นสำคัญของทฤษฎีการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ จุดประสงค์ของบทที่ 3 ถึงบทที่ 7 คือต้องการอธิบายเรื่องสำคัญ 3 เรื่อง คือ กระบวนการเกี่ยวกับการกำหนดขึ้นของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ การเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ขนาดการเปลี่ยนแปลงของรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ว่าการเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใด วิธีการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ในบทนี้จะใช้วิธีการต่างๆ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบของตัวแปรต่างๆต่อระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ วิธีการศึกษาที่ใช้มีดังนี้ Income - Expenditure Approach  (รายได้ - ความต้องการใช้จ่าย) Withdrawal - Injection Approach  (ส่วนกระตุ้น - ส่วนรั่วไหล) Aggregate Demand - Aggregate Supply Approach General Equilibrium Approach or IS-LM Approach ซึ่งแต่ละวิธีจะมีรายละเอียดของการวิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบว่า รายได้ดุลยภาพนั้นกำหนดขึ้นมาได้อย่างไร เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร และเปลี่ยนแปลงมากน้อยขึ้นกับเหตุปัจจัยใด การกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพด้วยวิธี Income - Expenditure Approach เราจะเริ่มต้นด้วยการใช้วิธี Income - Expenditur...